Wednesday, March 27, 2013

อัพเดทสถานการณ์ไข้เลือดออก 18 มีนาคม 2556


สถานการณ์ไข้เลือดออกที่มีผู้ป่วยมากกว่าปีที่แล้วถึง 3 เท่าในช่วงเวลาเดียวกัน



การปฏิบัติเมื่อพบผู้ป่วยสงสัยเป็นไข้เลือดออก
        อาการ มีไข้สูง ไม่ไอมา 2 วัน หากไม่นอนรักษาที่ รพ. ต้องมีระบบติดตามว่า วันที่ 3 มีไข้หรือไม่ถ้ามีไข้ต้องกลับมาพบแพทย์ทันที หากเข้าวันที่ 4 ของไข้ ผู้ป่วยอาจช็อคได้
         ก)   ให้มีแนวทางการดูแล ผู้สงสัยไข้เลือดออก ไว้ในห้องตรวจโรค , ER เช่น
-   ไข้สูง ไม่ไอมา 2วัน หากไข้ไม่ลด วันที่ 3 ต้องมาพบแพทย์และหากอาการปวดท้อง อาเจียน ต้องรีบพบแพทย์ทันที อาจช็อคได้
-   มีประวัติมาจากหมู่บ้าน ชุมชนที่มีไข้เลือดออกมา 2 สัปดาห์
ข)   แจ้งข้อมูลระบาด เพื่อแจ้งสู่พื้นที่ทันที รวดเร็วเพื่อติดตามและควบคุมโรคด้วยการกำจัดยุงลาย

การควบคุมในพื้นที่ใช้ทีม SRRT และความร่วมมือของภาคประชาชน 
คุณยายจัดเต็ม ทั้งบ้านคุณยายไม่มีลูกน้ำสักตัว รอบๆ บ้านสะอาด

แจกปลาหางนกยูงไปกินลูกน้ำ 

กะลา ยังไม่มีโอกาสขังน้ำเลย ^^+

ทีม SRRT ของเทศบาลตำบลจักราช 

ลงพื้นที่พร้อมอาวุธครบมือ 

ทา ก.ย.ก่อน ออกควบคุม


ถ้าไม่ได้ผลคงต้องรอเทวดาช่วย ล่ะครับ ^^!
#keepper

Sunday, March 24, 2013

Update Link ผลงาน สสจ.นครราชสีมา

ตามหนังสือที่ น.ม. 0032.002/3/ว.612
เรื่อง  แจ้งรายชื่อเว็บไซด์สรุปผลการดำเนินงานการให้บริการของสถาณพยาบาล

1. http://203.157.161.4/ncdkorat/   ผลการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ความดัน
2. http://203.157.161.4/panthai/    ระบบรายงานแพทย์แผนไทย
3. http://203.157.161.4/chkoppp/  ตรวจสอบข้อมูล 21 แฟ้ม
4. http://203.157.161.4/chkperson/chk_personin_cup.php?cupid=10875   ตรวจแฟ้ม Person
5. http://203.157.161.4/primary/foot_cup.php?cupid=10875  ตรวจภาวะแทรกซ้อนทางเท้า
6. http://203.157.161.4/primary/retina_index.php   ผลการตรวจภาวะแทรกซ้อนทางตา

#keepper

Saturday, March 23, 2013

Baidu PC Faster 3.0 โปรแกรม Antivirus สารพัดประโยชน์


เนื่องจากปัญหาจากคอมพิวเตอร์ ที่เจ้าหน้าที่หลายท่านพบเจอบ่อยๆ คือ คอมพิวเตอร์ติดไวรัส  คอมช้า อืด คอมชอบค้าง    ไม่ว่าจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ในหน่วยงาน หรือ เครื่องส่วนตัว โดยท่านสามารถใช้โปรแกรม Baidu PC Faster 3.0 แก้ปัญหาด้วยตัวเองในระดับเบื้องต้นได้

ทดสอบแล้วเทพจริง ไรจริง ไปหาโหลดมาติดตั้งกันได้ที่


#keepper

Friday, March 22, 2013

แก้ปัญหาเชิงระบบ ไม่ Remed รายการ Lab

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจหน้าห้องตรวจแพทย์ก่อน หน้าห้องแพทย์ 
รายการที่สามารถ Remed ได้ก็ได้แก่
ยา  ก็คือยาล่ะครับ
เวชภัณท์  รายการอื่นๆ ที่ไม่ใช่ยา ค่ารักษาอื่นๆ
Dx  การวินิจฉัยโรค ICD10 และ ICD9 หัตถการ
และ PE  ข้อมูลการตรวจร่างกายใน PE1

กรณีที่ 1
ปัญหามีอยู่ว่า คนไข้ในคลินิคเบาหวาน  Visit ที่แล้ว เจอะเลือดประจำปี มีรายการ Lab ครบ
มา Visit นี้ก็ Remed ตามเคยเพื่อความสะดวก ผลปรากฏว่า รายการ Lab ก็มาด้วยเพราะติ๊กเวชภัณท์
พอถึงห้องการเงินก็ ผมไม่ได้ตรวจวันนี้รายการนี้มาได้อย่างไร ???

กรณีที่ 2
คนไข้มีรายการ มีรายการ เวชภัณท์ ปากกาฉีดยา  ไม่ทำการ remed ทำให้้ผู้ป่วยไม่ได้รับเข็ม


การดำเนินการแก้ไขปัญหา 
1. กำหนดรายการค่ารักษาพยาบาลในหมวดรายการ Lab ให้รายการนี้ไม่รวมอยู่ใน Remed 
2. ในหน้าจอห้องตรวจแพทย์ กรณีที่ต้องการ สั่งรายงานนั้นซ้ำ ให้ทำการติดเครื่องหมายถูก เวชภัณท์ที่ไม่ใช่ยาด้วย
3. ทำการตรวจทานอีกครั้งก่อนทำการส่งรับยา
4. ห้องยาทำการตรวจทานอีกครั้งเช่นกัน
หากพบปัญหาการใช้งานไว้มานั่งคุยกันใหม่น่ะครับ

#keepper

Thursday, March 21, 2013

คำสั่ง SQL ให้คะแนนคนที่คุมเบาหวานความดันได้ดี 20 อันดับแรก /พี่เล็ก

นั่งงม SQL Code มา 4 ช.ม. สุดได้ก็ได้คำตอบตามนี้
โจทย์ก็คือ อยากที่จะให้คะแนน ผู้ป่วยเบาหวานในคลินิค อ่ะ ว่าในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมา คุมความดันได้กี่ครั้ง คุมระดับน้ำตาลได้กี่ครั้ง เป็น Good visit กี่ครั้ง  
หลังจากพลัดผ่อนมานานจนถึง death line 2013-03-21 23.59 น.  

ได้คำสั้ง SQL ดังนี้
SELECT v.hn,v.vstdate,o.bps,o.bpd,o.fbs,f.dtx1,
sum(CASE WHEN o.bps BETWEEN "90" and "130" THEN 1 ELSE 0 END) AS bpsgood,
sum(CASE WHEN o.fbs BETWEEN "70" and "140" THEN 1 ELSE 0 END) AS fbsgood,
sum(CASE WHEN f.dtx1 BETWEEN "70" and "140" THEN 1 ELSE 0 END) AS dtxgood,
count(DISTINCT v.vn) as visitgood,
(sum(CASE WHEN o.bps BETWEEN "90" and "130" THEN 1 ELSE 0 END) +
sum(CASE WHEN o.fbs BETWEEN "70" and "140" THEN 1 ELSE 0 END) + 
sum(CASE WHEN f.dtx1 BETWEEN "70" and "140" THEN 1 ELSE 0 END) ) AS TOTAL
FROM vn_stat v
LEFT OUTER JOIN clinicmember c on c.hn=v.hn
LEFT OUTER JOIN person p on p.patient_hn=v.hn
LEFT OUTER JOIN opdscreen o on o.vn=v.vn
LEFT OUTER JOIN opdscreen_fbs f on f.vn=v.vn
WHERE v.vstdate BETWEEN "2013-01-01" and "2013-03-31" and c.clinic = "001"  
and c.clinic_member_status_id = "1" and c.discharge = "N"  and p.village_id <> "1" 
and (o.bmi <> "" or o.bmi is not NULL)
and o.bpd <> "0" and (o.fbs <> "0" or dtx1 <> "0")
GROUP BY v.hn
ORDER BY TOTAL DESC
LIMIT 20

ขอขอบคุณ คุณอภิศักดิ์ สำหรับคำแนะนำเรื่อง SQL Code 
#keepper


คนเข้า Blog เยอ Blogger ก็ดีใจ ^^!

สวัสดีครับ เห็นกราฟ แสดงสถิติการติดตาม Blog ขึ้นเป็นหลักร้อย ต่อวันก็ดีใจ  5555+  หรือมีคนแอบปั่น เพื่อให้ดีใจ ^^!  ก็ดีใจครับ แวะมาบ่อยๆ น่ะครับ
#keepper

Wednesday, March 20, 2013

2013-03-21 ประชุม Antibiotic Smart Use

เชื้อดื้อยา MRSA, PRSP, VRE, ESBL,
เป้าหมาย
 - สังใช้ยาอย่างสมเหตุผล

URI  80% เป็นไวรัส

ไข้ สูง จุดขาวที่ทอลซิล ต่อมน้ำเหลืืองโต ลิ้นไก่บวม จุดเลือดออกที่เพดานอ่อน
ให้ยา ABT 10 วัน

ข้อควรรู้

    การมีน้ำมูกหรือเสมหะข้น หรือสีเขียวเหลืองไม่ได้บ่งชี้ว่าต้องทานยาฆ่าเชื้อ
อาการไข้สูงเพียงอย่างเดียวไม่ใช่ข้อบ่งชี้ว่าต้องทานยาฆ่าเชื้อ เพราะอาจเป็นโรคอื่นได้ เช่น ไข้หวัดใหญ่ ไข้เลือดออก



ไซนัส อักเสบ  
ถ้าเป็น 7 วันแล้วไม่หาย รักษาแบบ Bacteria



กลุ่มโรคที่ 2 ท้องร่วงเฉียบพลัน
สาเหตุ แบคทีเรีย  ไวรัส  อาหารเป็นพิษ
            การให้ยาฆ่าเชื้อควรให้เฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการร่วมดังนี้
           ไข้สูง > 38๐c 
อุจจาระเป็นมูกหรือมีเลือดปนเห็นได้ด้วยตาเปล่า หรือ ตรวจพบWBC,RBCในอุจจาระ
ยาฆ่าเชื้อที่ควรใช้คือ norfloxacin
ผู้ใหญ่ 400 มก. วันละ 2 ครั้ง นาน 5 วัน
เด็ก 15-20 มก./กก./วัน แบ่งวันละ 2 ครั้ง นาน 5 วัน (หากเป็นเด็กที่ต่ำกว่า 5 ปี ให้ตามแพทย์เสมอ)

ส่วนที่ 3 บาดแผล

    แผลที่ยังไม่ติดเชื้อ คือ บาดแผลที่มาถึงรพ.ภายใน6ชั่วโมง

แผลสะอาด หมายถึง

  • บาดแผลเปิดที่มีขอบเรียบสามารถล้างทำความสะอาดง่าย
  • ไม่มีเนื้อตาย
  • บาดแผลที่มีสิ่งสกปรกติดอยู่ แต่ล้างออกได้ง่าย
  • แผลที่ไม่ได้เปื้อนสิ่งแปลกปลอมที่ติดเชื้อสูง เช่น น้ำคลอง ดิน มูลสัตว์ เป็นต้น


บาดแผลที่มีโอกาสติดเชื้อสูง
  • บาดแผลที่ถูกวัตถุทิ่มเป็นรูยากแก่การทำความสะอาดได้ทั่วถึง
  • บาดแผลที่มีเนื้อตายเป็นบริเวณกว้าง
  • บาดแผลที่มีสิ่งสกปรกติดอยู่ ที่ล้างได้ไม่หมด
  • บาดแผลที่สัมผัสเชื้อโรคมาก เช่น ดิน น้ำคลอง เหล็กมีสนิม มูลสัตว์ เป็นต้น
  • บาดแผลจากการบดอัด
  • แผลที่เท้า
  • แผลขอบไม่เรียบ
  • แผลผู้ป่วยที่ภูมิคุ้มกันต่ำ หรือโอกาสติดเชื้อง่าย เช่น เบาหวาน เป็นต้น
ยาที่รักษา
       ยาฆ่าเชื้อให้ในกรณีที่แผลมีโอกาสติดเชื้อสูงเท่านั้น และเป็นการให้เพื่อการป้องกันการติดเชื้อ ยาที่ควรใช้
Dicloxacillin
  • ผู้ใหญ่ 250 มก. วันละ 4 ครั้ง 2 วัน
  • เด็ก 25-50 มก. วันละ 4 ครั้ง 2 วัน
Clindamycin
  • ผู้ใหญ่ 150-300 มก. วันละ 4 ครั้ง 2 วัน
  • เด็ก 8-25 มก./กก./วัน วันละ 4 ครั้ง 2 วัน
กรณีสัตว์กัด
ATB Co- amoxiclav  : frist line drug  ถ้าไม่มีให้ Amoxyciline high dose (25-50 mg/kg/day)


>>>  ดาวโหลดเอกสาร <<<

คลิกอ่านต่อ

Monday, March 18, 2013

ปีศาจภายในตัวเรา


ปีศาจภายในตัวเรา

ในเดือนกรกฎาคม ปี 1961 สแตนลีย์ มิลแกรม นักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยเยล สหรัฐอเมริกา ทำการทดลองทางจิตวิทยาสำคัญครั้งหนึ่ง ต่อมาเรียกชื่อว่า The Milgram Experiment

การทดลองนี้ประกอบด้วยตัวอย่างทดลองสองกลุ่ม กลุ่มแรกทำหน้าที่เป็นครู กลุ่มหลังทำหน้าที่เป็นนักเรียน ทดลองทีละคู่โดยมี สแตนลีย์ มิลแกรม เป็นผู้คุมการทดลอง นักเรียนอยู่ที่ห้องหนึ่ง ครูกับผู้คุมอยู่อีกห้องหนึ่ง

การทดลองเริ่มด้วยผูกข้อมือของนักเรียนด้วยเส้นลวดเชื่อมกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ครูทำหน้าที่ป้อนคำถามแก่นักเรียน หากนักเรียนตอบไม่ได้ ครูจะลงโทษนักเรียนคนนั้น โดยกดปุ่มปล่อยประแสไฟฟ้าไปชอร์ตนักเรียน ปุ่มเหล่านี้เรียงจากค่าต่ำสุดไปถึงสูงสุด เมื่อตอบผิดครั้งแรก นักเรียนจะถูกลงโทษด้วยกระแสโวลต์ต่ำ และจะเพิ่มขึ้น 15 โวลต์ทุกๆ ครั้งที่ตอบผิด บทลงโทษสูงสุดคือ 450 โวลต์ซึ่งเป็นอันตรายต่อมนุษย์

ความตึงเครียดเกิดขึ้นกับครูทุกคน เพราะเมื่อปล่อยกระแสไฟฟ้าไปหลายครั้ง นักเรียนจะร้องด้วยความเจ็บปวด จนถึงจุดจุดหนึ่ง นักเรียนจะขอร้องครูไม่ให้ลงโทษพวกเขา บางคนทุบกำแพง บางคนร้องไห้ ครูบางคนลังเลและบอกผู้คุมว่าจะขอเลิกทดลอง บางคนบอกว่าจะคืนเงินค่าจ้าง ผู้คุมตอบว่า “เลิกไม่ได้ โปรดเดินหน้าทดลองต่อไป”

บางครั้งนักเรียนปฏิเสธที่จะตอบ เพราะกลัวตอบผิด ครูจะถือว่านักเรียนตอบคำถามนั้นผิด และกดปุ่มปล่อยกระแสไฟฟ้า

แม้จะไม่รู้สึกสบายใจนัก ผู้ที่รับหน้าที่เป็นครูส่วนใหญ่ก็ดำเนินการต่อไปจนจบ ครูบางคนทนไม่ได้จริงๆ ก็เดินออกจากห้องไป แต่ครูบางคนก็ไม่รู้สึกรู้สาอะไร

หลังการทดลองจบแล้ว ผู้คุมจะอธิบายให้ครูฟังว่า การทดลองนี้ไม่มีการปล่อยกระแสไฟฟ้าจริงแต่อย่างใด นักเรียนที่มาทดลองทำหน้าที่เล่นบทหลอกครูเท่านั้น เสียงร้องของนักเรียนเป็นเสียงที่อัดเทปล่วงหน้า เพื่อหลอกดูปฏิกิริยาของครู ครูก็คือกลุ่มตัวอย่างที่แท้จริงของงานนี้

Sunday, March 17, 2013

Thursday, March 14, 2013

อัตราเงินเดือนข้าราชการ ที่บรรจุ 1 มีนาคม 2556

อัตราเงินเดือนข้าราชการ ที่บรรจุ 1 มีนาคม 2556




E-office  สสจ.นครราชสีมา

http://61.19.30.158/E-Office/index.php?topic=63216.0

ปรับค่าตอบแทนบุคลากรสธ.วงเงินเดิม-เพิ่มจ่ายตามภาระงาน ดีเดย์1เม.ย.


คณะกรรมการพิจารณาทบทวนค่าตอบแทนกำลังคนด้านสาธารณสุข เห็นชอบหลักการปรับค่าตอบแทนแนวใหม่วงเงินเดิม

เพิ่มจ่ายตามภาระงานให้ผู้ที่ทำงานหนักทุกแห่ง  ส่วนพื้นที่เฉพาะ ยังมีระบบเหมาจ่ายเหมือนเดิม  พร้อมเริ่ม 1  เมษายน 2556

บ่ายวันนี้ (13 มีนาคม 2556) ที่กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายแพทย์ประดิษฐ  สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ประชุมคณะกรรมการพิจารณาทบทวนระบบการจ่ายค่าตอบแทนกำลังคนด้านสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในภาครัฐ ชุดใหม่ ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธาน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นรองประธาน คณะกรรมการประกอบด้วย เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน หรือ ก.พ. เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ปลัดกระทรวงการคลัง เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ปลัดกรุงเทพมหานคร อธิบดีกรมบัญชีกลาง เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษาหรือผู้แทน อธิบดีกรมการแพทย์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ประธานชมรมนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ประธานชมรมผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป หัวหน้าโครงการบริหารค่าตอบแทน สำนักงานก.พ. มีรองปลัดกระทรวงสาธารณสุขที่ได้รับมอบหมายเป็นเลขานุการ

นายแพทย์ประดิษฐกล่าวว่า ในวันนี้ ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบในหลักการสำคัญของแนวทางการทบทวนค่าตอบแทนบุคลากรสาธารณสุข โดยวงเงินค่าตอบแทนไม่ลดลงแต่อย่างใด แต่จะมีการปรับวิธีการจ่ายค่าตอบแทนแบบใหม่ โดยจ่ายตามผลการปฏิบัติงานจริงหรือตามภาระงาน (Pay for Performance : P4P) และยังคงให้มีค่าตอบแทนแบบเหมาจ่ายในบางพื้นที่ที่อยู่ยาก และพื้นที่เฉพาะระดับ 1 ระดับ 2 เช่นพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ หรือโรงพยาบาลที่หาบุคลากรไปทำงานยากเช่นเดิม เพราะฉะนั้นสรุปได้ว่าโรงพยาบาลทุกแห่งและบุคลากรทุกคนที่ทำงานเกินมาตรฐานของงานจะได้รับค่าตอบแทนส่วนนี้ โดยจะดำเนินการเป็น 3 ระยะ ระยะแรกเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน 2556 ระยะที่ 2 เดือนตุลาคม 2556 และระยะที่ 3 ในเดือนตุลาคม 2557

นายแพทย์ประดิษฐกล่าวต่อว่า เมื่อปรับการจ่ายค่าตอบแทนเป็นแบบตามภาระงานแล้ว ค่าตอบแทนที่ได้รับจะไม่ลดลง บางคนได้มากกว่าวิธีเดิม เนื่องจากมีการรับประกันวงเงินในการจ่ายค่าตอบแทน  ในระยะแรกจะประกันเท่ากับวงเงินเดิมที่กลุ่มวิชาชีพเคยได้รับ ส่วนในระยะที่ 2 จะประกันวงเงินตามภาระโรงพยาบาล ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขมีความมุ่งมั่นว่า เมื่อปรับระบบการจ่ายค่าตอบแทนแบบใหม่ สิ่งที่ประชาชนจะได้รับคือคุณภาพและประสิทธิภาพของงานบริการที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งเป็นขวัญกำลังใจให้เจ้าหน้าที่ที่ทำงานหนัก  โดยจะมีการกำหนดเพดานวงเงินค่าตอบแทนให้เหมาะสมเพื่อให้เกิดความมั่นคงทางด้านการเงินในระยะยาว และใช้วิธีการบริหารจัดการภายในเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ ที่ประชุมได้เห็นชอบต่อแนวทางการบริหารงบประมาณค่าตอบแทนในปีงบประมาณ 2556 ซึ่งครม.อนุมัติงบช่วยอุดหนุน 3,000 ล้านบาท โดยจะจ่ายค่าตอบแทนตามแบบเดิมย้อนหลังในเดือนตุลาคม 2555-มีนาคม 2556 ซึ่งโรงพยาบาลได้ใช้เงินบำรุงสำรองจ่ายไปก่อนแล้วจำนวน 2,000 ล้านบาท  ส่วนที่เหลืออีก 1,000 ล้านบาทจะใช้ตามหลักเกณฑ์ใหม่เริ่มตั้งแต่เมษายน–กันยายน 2556 โดยจะให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุขเร่งทำความเข้าใจบุคลากรทุกระดับ  เนื่องจากเป็นระบบใหม่ หลายฝ่ายยังเข้าใจหลักการคลาดเคลื่อน        /“เรื่องเงิน...

“เรื่องเงินค่าตอบแทนนี้ เป็นสิ่งที่ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขให้ความสำคัญมาโดยตลอด เพื่อชดเชยการเสียโอกาสให้บุคลากรที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ชนบท กันดาร เป็นการแสดงน้ำใจความห่วงใยต่อบุคลากรที่คงอยู่ปฏิบัติงานดูแลประชาชนในพื้นที่ ด้วยอุดมการณ์ความเสียสละที่น่าชื่นชมเป็นอย่างยิ่งซึ่งเงินจำนวนนี้ถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับภาคเอกชน” นายแพทย์ประดิษฐกล่าว                                                    
ด้านนายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า วิธีการจ่ายตามผลการปฏิบัติงานจริง เป็นวิธีการใหม่ที่จะเกิดขวัญกำลังใจให้แก่บุคลากรสาธารณสุขทุกวิชีพทุกคน ที่ทำงานหนักเกินมาตรฐาน และเป็นการเพิ่มคุณภาพบริการแก่ประชาชน โดยจะมีการกำหนดมาตรฐานการทำงานขั้นต่ำของทุกสายวิชาชีพ ซึ่งแบ่งเป็น 7 กลุ่ม  คือกลุ่มแพทย์  กลุ่มทันตแพทย์  กลุ่มเภสัชกร  กลุ่มพยาบาลวิชาชีพ กลุ่มสหวิชาชีพ  กลุ่มตำแหน่งเจ้าพนักงานระดับเทคนิค  กลุ่มเจ้าหน้าที่อื่นและงานสนับสนุน เพื่อเป็นฐานในการจ่าย ขณะนี้ได้จัดทำหลักเกณฑ์รายละเอียดเสร็จแล้ว จะเสนอต่อคณะกรรมการต่อไป

 นายแพทย์ณรงค์กล่าวต่อว่า สำหรับแนวทางการจ่ายค่าตอบแทนตามระดับพื้นที่ที่จะใช้ในปี 2556-2557  จะแบ่งโรงพยาบาล ออกเป็น 2 กลุ่มคือโรงพยาบาลศูนย์/ โรงพยาบาลทั่วไป ซึ่งมี 96 แห่ง และกลุ่มโรงพยาบาลชุมชน 737 แห่ง ซึ่งจะมีการทบทวนการจัดพื้นที่ใหม่ เมื่อดำเนินการระยะที่ 3 คือในเดือนตุลาคม 2557 และจะปรับทุก 2 ปี โดยในหลักเกณฑ์ของโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ1.โรงพยาบาลที่อยู่ในพื้นที่ปกติ 2.โรงพยาบาลที่อยู่ในพื้นที่เฉพาะระดับ 1 ซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่มีความยากลำบากในการบริหารจัดการบุคลากร จำนวน 7 แห่ง และ3.โรงพยาบาลที่อยู่ในพื้นที่เฉพาะระดับ 2 ซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่มีความยากลำบากในการบริหารจัดการบุคลากรระดับมาก มี 2 แห่ง

 ส่วนโรงพยาบาลชุมชน จะแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มที่1.คือโรงพยาบาลชุมชนที่อยู่ในเขตชุมชนเมือง  มี 33 แห่ง 2.โรงพยาบาลชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ปกติมี 591 แห่ง  3.โรงพยาบาลชุมชนที่อยู่ในพื้นที่เฉพาะระดับ 1 จำนวน 65 แห่ง และ 4. โรงพยาบาลชุมชนที่อยู่ในพื้นที่เฉพาะระดับ 2 จำนวน 48 แห่ง ซึ่งโรงพยาบาลที่อยู่ในพื้นที่เฉพาะ ได้กำหนดการจ่ายตามระยะเวลาที่อยู่ปฏิบัติงานในพื้นที่ แบ่งเป็น 3 ช่วง ได้แก่ 1-3 ปี 4-10 ปี และ 11 ปีขึ้นไป เพื่อเป็นการชดเชยค่าเสียโอกาสต่างๆ ของเจ้าหน้าที่ที่เสียสละ เช่นโอกาสเล่าเรียนของบุตร เป็นต้น และเป็นแรงจูงใจให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานให้บริการประชาชนในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง และจะพิจารณาให้วิชาชีพต่างๆ 26 สายงาน เนื่องจากการทำงานเป็นทีมบริการ แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่
1.กลุ่มแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร
2.กลุ่มพยาบาลวิชาชีพ
3.สหวิชาชีพ
และ4.กลุ่มสายบริการโดยตรง ทั้งระดับปริญญาตรีและต่ำกว่าปริญญาตรี

ที่มา http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=173863%3A-1&catid=176%3A2009-06-25-09-26-02&Itemid=524#.UUHHI82Fpgg.facebook

Wednesday, March 13, 2013

รู้ก่อน เตรียมตัวก่อน จ่ายค่าตอบแทนตามผลปฏิบัติงาน P4P

การจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน(Pay for Performance) ได้รับการยอมรับโดยทั่วไปว่าเป็นระบบที่สามารถเพิ่มผลิตภาพการทำงานของกำลังคน และสามารถสร้างแรงจูงใจในการทำงานเพื่อเป้าหมายขององค์กร ซึ่งการนำมาใช้ในภาคบริการสุขภาพที่เป็น Skill Labour Intensive ซึ่งจำเป็นต้องมีการออกแบบระบบอย่างรอบคอบ คำนึงถึงปัจจัยแวดล้อม และผลกระทบ ที่จะเกิดขึ้นทั้งทางบวกและทางลบอย่างรอบด้าน ทั้งด้านผลลัพธ์ต่อผู้ป่วย ผู้ใช้บริการความสามารถในการจ่ายและความมั่นคงขององค์กร ความพึงพอใจและประสิทธิภาพของกำลังคน รวมทั้งการแข่งขันในตลาดบริการสุขภาพที่เติบโตขึ้นอย่างมากและรวดเร็ว ทั้ง ๔ ปัจจัยดังกล่าว มีความสัมพันธ์กันอย่างเป็นระบบ ดังแผนภาพ


การจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน (Pay for Performance) เป็นการจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงานแก่บุคลากรด้านสุขภาพ ทั้งนี้ ผลการปฏิบัติงานประกอบไปด้วย ปริมาณภาระงานและ คุณภาพงาน โดยมีหลักการพื้นฐานดังนี้

๑.   ค่าตอบแทนนี้ เป็นค่าตอบแทนเพื่อการจูงใจ (Incentives) ซึ่งเป็นค่าตอบแทนที่ให้เพิ่มขึ้นนอกเหนือจากค่าตอบแทนพื้นฐาน ขนาดของค่าตอบแทนเพื่อการจูงใจที่จะจ่ายนี้ เป็นค่าตอบแทนที่ผันแปรตามผลงาน ซึ่งเป็นไปตามข้อตกลงในแต่ละโรงพยาบาล โดยจะมีการจ่ายค่าตอบแทนนี้ภายหลังจากมีการประเมินผลงานแล้ว  
ภาพที่ ๒ กรอบแนวคิดการจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน


๒.   การจ่ายค่าตอบแทน โดยยึดหลักพื้นฐานของความเป็นธรรมภายใน หมายถึง การจ่ายให้บุคลากรที่ทำงานมีผลงานเท่ากัน ได้รับค่าตอบแทนเท่ากัน และจ่ายค่าตอบแทนสูงกว่าสำหรับบุคลากรที่ทำผลงานได้มากกว่า หรือดีกว่า หรือที่มีความยากมากกว่า ดังนั้น จึงต้องมีการวิเคราะห์งาน และการประเมินค่างานอย่างโปร่งใส ด้วยหลักเกณฑ์เชิงประจักษ์ ที่จะสามารถเปรียบเทียบกันได้ระหว่าง งานทุกงาน และทักษะของบุคลากรทุกคนและทุกสาขา



ตัวอย่าง การคิดคะแนน


จ่ายตามความยากง่ายของงาน




แบบความซับซ้อน 
อ่านต่อ

เก็บตกข่าว เปิดเสรี วงการสาธารณสุขจะเป็นอย่างไร?



       เชื่อว่าหลายท่านคงทราบแล้วถึงเป้าหมายของไทยในการประกาศตัวเป็นศูนย์กลางบริการด้านสุขภาพนานาชาติ หรือเมดิคัล ฮับ แต่ยังกังวลว่าแพทย์ไทยของเราจะไหลออกไปทำงานนอกประเทศ ก่อนที่เราจะได้เป็นเมดิคัล ฮับ หรือเปล่า ขออธิบายว่า ในแผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเป็นเมดิคัล ฮับ 2 เรื่องคือการเคลื่อนย้ายบริการและการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรี การค้าบริการ โดยทั่วไปมี 4 รูปแบบ

รูปแบบแรก เรียกว่าCross-Border Supply เป็นการค้าบริการผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยที่ผู้ซื้อกับผู้ขายไม่ต้องพบกัน เช่น หากทราบว่ามีแพทย์เฉพาะทางเกี่ยวกับปอดอยู่ที่สิงคโปร์ เราสามารถไปเอกซเรย์ปอดจากในเมืองไทย แล้วนาผลส่งไปให้ทางสิงคโปร์ช่วยวินิจฉัย

รูปแบบที่สอง เรียกว่า Consumption Aboard คือ ผู้ซื้อบริการเดินทางมารับบริการในประเทศของผู้ขายโดยตรง เช่น คนต่างชาติเดินทางเข้ามาประเทศไทยเพื่อมารับบริการศัลยกรรม

รูปแบบที่สาม เรียกว่าCommercial Presence คือ การค้าที่ผู้ให้บริการเข้าไปลงทุนตั้งสาขาย่อยในประเทศผู้รับบริการเอง เช่น เมื่อแพทย์ไทยพบว่ามีคนชาติใดเข้ามาทาศัลยกรรมจำนวนมาก ก็อาจไปตั้งสาขาที่ประเทศนั้นเลย

รูปแบบสุดท้าย เรียกว่า Movement of Natural Persons ก็คือผู้ประกอบวิชาชีพบริการเป็นผู้เดินทางไปให้บริการในประเทศผู้รับบริการเองแพทย์ พยาบาล และทันตแพทย์ สามารถเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรี

จากกรอบความตกลงการค้าบริการของอาเซียน ระบุว่า ตั้งแต่ปี 2558 นักลงทุนอาเซียนสามารถถือหุ้นในธุรกิจบริการสาขาต่างๆ ได้ถึง 70% ดูเผินๆ อาจทำให้คิดว่าเพิ่มขึ้นมากจากกรอบเดิมที่ไทยกำหนดให้ต่างชาติถือหุ้นได้ไม่เกิน 49% แต่ไม่ค่ะ เพราะความจริงยังมีข้อกีดกันอยู่มาก ในด้านสาธารณสุขนั้น สาขาที่เปิดให้ต่างชาติถือสัดส่วนได้เพิ่มขึ้นเป็น 70% มีเพียงบางด้าน เช่น บริการการแพทย์เฉพาะทาง “ในโรงพยาบาลเอกชน”และบริการ “ให้คาปรึกษา”ด้านกุมารเวช จิตวิทยา การผ่าตัด ข้ามมาดูเรื่องการเคลื่อนย้ายแพทย์ค่ะวิชาชีพแพทย์ถือเป็นวิชาชีพที่มีการเคลื่อนย้ายเสรีแต่ก็ต้องอยู่ภายใต้ข้อตกลงยอมรับร่วมคุณสมบัตินักวิชาชีพ (MRA) แล้ว MRA ก็กำหนดคุณสมบัติร่วมเอาไว้ทั้งด้านการศึกษาด้านประสบการณ์ แถมแต่ละประเทศยังมีข้อกำหนดเพิ่มเติมกันเอง เช่นต้องสอบใบประกอบโรคศิลปะเป็นภาษาของประเทศนั้นๆ

สรุปก็คือ การเปิดเสรีด้านสาธารณสุขในขณะนี้ ยังไม่ได้เปิดเต็มรูปแบบอย่างแท้จริง แต่เราควรร่วมกันทาทั้งอาเซียนให้กลายเป็นเมดิคัล ฮับเพราะเราต้องยอมรับว่าแต่ละประเทศก็มีจุดเด่นและจุดด้อยแตกต่างกันเบื้องต้นเราอาจจับมือกับสิงคโปร์ ซึ่งมีความพร้อมด้านการแพทย์ระดับเดียวกับเรา รวมถึงร่วมมือกับชาติอาเซียนอื่นส่งต่อคนไข้ อย่าให้อาเซียนกลายเป็นอุปสรรคในการก้าว แต่ให้เป็นความร่วมมือของคนทั้งอาเซียน และกลายเป็น Stepping Stone พาเราก้าวไปสู่เวทีสากล

ที่มา :  อภิรดี ตันตราภรณ์ ประธานบริหารสถาบันนานาชาติเพื่อเอเชียแปซิฟิกศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพ

อ่านต่อ: http://www.thai-aec.com/731#ixzz2NU3psKgQ

INTERNATIONAL CLASSIFICATION FOR NURSING PRACTICE ( ICNP®)

   
    ICNP  เรื่องที่พยาบาลต้องรู้  มาพูดถึงรหัสมาตรฐาน อย่าง ICD10 (รหัสการวินิจฉัยโรค) ICD9 (รหัสการลงหัตถการ) สำหรับการพยาบาลนั้นรหัสอย่างสากลคือ ICNP (INTERNATIONAL CLASSIFICATION FOR NURSING PRACTICE)
        ผมเองเคยไปประชุมเรื่องการบันทึกทางการพยาบาลกับหัวหน้าฝ่ายการเมื่อ 4 ปีที่แล้ว มันเป็นอะไรที่ยิ่งใหญ่มาก เป็นอะไรที่พยาบาลใช้สื่อสารการทำการพยาบาล อย่างเป็นสากล
 
       ถึงวันนี้ ผมก็ยังติดตามข่าวต่อเนื่อง มีการนำมาใช้ในประเทศไทยแล้ว แต่ยังไม่แพร่หลาย มีการแปลเป็นภาษาอื่นๆ แต่ยังไม่มีภาษาไทย
http://www.icn.ch/pillarsprograms/icnpr-translations/

        ต้องรอความหวังจากคนรุ่นใหม่อยากเราๆ  ผมคิดว่าเราได้ใช้แน่ๆ แต่ว่าเมื่อไรเท่านั้น


ผมว่ามันก็แปลไม่ยากน่ะ  แล้วก็เขียนโปรแกรม เพื่อให้ง่ายต่อการให้รหัส  แล้วก็แจกจ่ายกันใช้ อย่างแพร่หลาย... ใครมีฝีมือ เรื่องไหนก็มาช่วยกัน

ตัวอย่าง ICNP ในประเทศไทย
1. รพ.มหาราช นครเชียงใหม่ http://www.med.cmu.ac.th/hospital/nis/know/know.html

2. การจำแนกการปฏิบัติการพยาบาล (ICNP) ในโรงพยาบาลราชวิถี http://pmr.raja.thaikm4u.com/blog/icnp/

เอาไว้อ่านต่อฉบับหน้านะครับ
#keepper




ชอบภาพนี้จัง


ปลดล็อกระบบห้องLab LIS กับโปรแกรม HOSxP

       Version HOSxP โรงพยาบาลหลังเดือนกุมภาพันธ์ เป็นต้นมา  โรงพยาบาลที่ใช้ระบบรายงานผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ LIS  ต้องทำการลงทะเบียนกับ HOSxP  คือเก็บตังค่าเชื่อมต่อโปรแกรม จึงจะสามารถใช้งานได้แบบเดิม
      หลังโรงพยาบาลอัพ Version เป็น 3.56.2.26  ก็พบปัญหา LIS error ในช่องรายงานผล Lab ห้อง Lab ก็งานเข้าทันที T____T
      16.00 น.  โทรศัพท์จาก BMS บอกส่งตัวปลดล็อกชั่วคราว LIS ให้ทาง Mail ซึ่งน้องเอ๋ ติดประสานงานไว้ ^^!
      16.30 น. ได้เวลาทดสอบโปรแกรมที่ให้มาใหม่ กับห้อง Lab แล้ว โปรแกรมขนาด 2 Mb
       คลิกเปิดโปรแกรม ใส่รหัสเชื่อมต่อกับฐานข้อมูล HIS โรงพยาบาล  โปรแกรมก็ทำการ RUN รายการไปเลื่อยๆ OK ใช้ได้  ผู้ป่วมทดสอบครั้งนี้มี ผม พี่หนู พี่วันัย พี่ญา  /ขอบคุณครับ
       ที่ผลออกมาได้โดยดี คราวนี้ก็รอตัวเต็ม ล่ะครับ

Tuesday, March 12, 2013

Information and Communications Technology (ICT)



ICT มาจาก
     I   Information สารสนเทศ สารนิเทศ ในบางครั้งหมายถึงข้อมูล
     C  Communication การสื่อสาร
     T  Technology เทคโนโลยี


ความหมายรวมของ ICT 

      ความหมายโดยรวม หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ การสื่อสาร เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การรวบรวม
การจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล การพิมพ์ การสร้างงาน การสื่อสารข้อมูล ฯลฯ ซึ่งรวมไปถึงการให้บริการ การใช้ และการดูแลข้อมูล

ที่มา http://www.thaigoodview.com/library/ict/main/what_ict.html
ความหมายรวมของ ICT (โดยคุณมนัส อินทิยา)

"ICT-ไอซีที" นั้น
คือ  ตัวย่อของ Information and Communication Technology ขยายความเป็นไทยได้ว่า "เทคโนโลยีด้านข้อมูลข่าวสารและการติดต่อสื่อสาร" ซึ่งมีความจำเป็นต่อชีวิตประจำวันทุกวันนี้อย่างยิ่ง จึงตั้งหน่วยงานขึ้นรองรับและบริการ เกิดเป็นกระทรวงใหม่ชื่อ "กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร-Ministry of Information and Communication Technology" หรือกระทรวงไอซีที-ICT อธิบายขอบข่ายงานแยกตามตัวอักษรได้ว่า

     "I" Information -สารสนเทศ นำข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้มาผ่านกระบวนการเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีประโยชน์ต่อการตัดสินใจ มีภาระหน้าที่ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของข่าวสารข้อมูลบนเครือข่าย อยู่ในศีลธรรมอันดี และไม่กระทบต่อความมั่นคงของประเทศ จัดตั้งกองทุนเพื่อการส่งเสริมธุรกิจ ICT เป็นการเฉพาะ โดยให้สิทธิ์พิเศษในด้านการจัดหาเงินทุนหรือการร่วมลงทุน เป็นแหล่งกลางของข้อมูลออนไลน์ จัดให้มีองค์กรที่ช่วยในการแลกเปลี่ยนและวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารของธุรกิจ ICT สนับสนุนส่งเสริมให้มีการวิจัยพัฒนาเกี่ยวกับการป้องกันเครือข่ายสารสนเทศในสถาบันการศึกษา และเผยแพร่ข้อมูลให้กับกลุ่มธุรกิจ

     "C" Communications-การสื่อสาร ขอบข่ายงานคือจัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารทั้งในและระหว่างประเทศที่เพียงพอในต้นทุนที่แข่งขันได้กับประเทศในกลุ่มผู้นำในภูมิภาค มีเป้าหมายให้ประชากรมากกว่าร้อยละ 70 สามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ เพิ่มห้องสมุดไอที เพิ่มอัตราความสามารถในการใช้ ICT ของประชากรให้ถึงร้อยละ 60 เนื่องจากเป็นพื้นฐานต่อทักษะของประชาชนในสังคมเศรษฐกิจ องค์ความรู้ กำหนดให้อัตราค่าบริการในการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศขั้นต้นเหมาะสมกับประชาชนส่วนใหญ่ ให้มีการสร้างเครือข่ายภายในระหว่างหน่วยงานของรัฐ โดยมีโครงสร้างการเชื่อมต่อตามโครงสร้างระบบราชการ

     "T" Technology-เทคโนโลยี รวมคำ 2 คำคือ Technique หมายถึงวิธีการที่มีการพัฒนาและสามารถนำไปใช้ได้ และ Logic หมายถึงความมีเหตุผลที่เป็นที่ยอมรับ รวมกันหมายถึงวิธีการปฏิบัติที่มีการจัดลำดับอย่างมีรูปแบบและขั้นตอน เพื่อทำให้เกิดประสิทธิภาพในเรื่องความเร็ว ลักษณะงานคือสร้างกรอบกฎหมายที่เอื้อต่อการลงทุนสร้างนวัตกรรมใหม่และการผลิตภายในประเทศ สร้างความตระหนักถึงความสำคัญของ ICT ลดความเสี่ยงในการป้องกันความปลอดภัยของข้อมูล สนับสนุนบทบาทของภาคเอกชนโดยเฉพาะ SME ในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการรายย่อยเกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิตใหม่ๆ ร่วมมือกับประเทศคู่ค้า เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกันได้ และมีความปลอดภัยในระบบ ส่งเสริมให้มีการผลิตฮาร์ดแวร์ของอุปกรณ์โทรคมนาคมที่ได้มาตรฐาน

ที่มา http://learners.in.th/blog/ictint/32717

Review ทะเบียนคลินิค DM

     การติดตามทะเบียนคนไข้ในคลินิคให้เป็นปัจจุบันจะช่วยให้ เราทราบกลุ้มเป้าหมายที่เราให้การดูแล ว่าสถานะทางสุขภาพ เป็นอย่างไร มาเริ่มกันเลย
1. เขียนคำสั่ง SQL ดึงข้อมูลจากฐาน HOSxP ออกมาก่อนตามนี้

SELECT CONCAT(a.pname,a.fname,"  ",a.lname) as ptname,a.hn,a.cid,p.age_y,a.tmbpart,v.village_moo,a.informaddr,h.address,h.road,a.hometel,v.village_name,
s.clinic_member_status_name,n.vstdate,
sum(CASE WHEN n.vstdate BETWEEN "2013-02-01" and "2013-02-28" THEN 1 ELSE 0 END) AS good ,
SUM(case WHEN n.vstdate BETWEEN "2012-12-01" and "2013-03-10" THEN 1 ELSE 0 END) as cc
from clinicmember c
LEFT OUTER JOIN person p on c.hn=p.patient_hn  
LEFT OUTER JOIN patient a on a.hn=c.hn  
LEFT OUTER JOIN house h on h.house_id= p.house_id
LEFT OUTER JOIN village v on v.village_id=p.village_id
LEFT OUTER JOIN clinic_member_status s on s.clinic_member_status_id=c.clinic_member_status_id
LEFT OUTER JOIN vn_stat n on n.hn=c.hn  
WHERE c.clinic = "001"  and c.clinic_member_status_id in ("1")  and v.village_id <> "1"
GROUP BY a.hn ORDER BY cc DESC

2. ส่งออกข้อมูลไปยังโปรแกรม Excel
ต่อหน้า2 

Monday, March 11, 2013

แจกหนังสือรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุภาคภาษาไทย ปี 2554


     ในช่วง 50 ปี ที่ผ่านมาสังคมไทยเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างมากและรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงผ่านทางประชากรจากภาวะการเกิดสูง ตายสูงมาสู่การเกิดต่ำตายต่ำ ประกอบกับการเปลี่ยนผ่านทางระบาดวิทยาจากโรคระบาดและโรคติดต่อ มาสู่โรคเรื่อรังและโรคที่เกิดจากความเสื่อมสภาพของร่างกายตามวัย ทำให้สังคมไทยเปลี่ยนจากสังคมเยาว์วัย สู่สังคมสูงวัย ประเด็นท้าทายต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศจึงเปลี่ยนจากการเพิ่มประชากรวัยเด็กอย่างนวดเร็วในอดีต เป็นการเพิ่มประชากรวัยสูงอายุอย่างรวดเร็วในปัจจุบันและยังทวีความรวดเร็วต่อไปอีกใน 20-30 ปีข้างหน้า

ดาวโหลดคลิก

ที่มา http://www.thaitgri.org/index.php/report-all/thai-report

ขุมทรัพย์ทางปัญญา /KM Thailand

      ในองค์กรทุกองค์กร มี “กรุขุมทรัพย์ทางปัญญา” อยู่ กรุขุมทรัพย์ทางปัญญาที่สำคัญคือความรู้ที่มีอยู่ภายในคน ที่เป็นสมาชิกขององค์กรนั่นเอง ความรู้เหล่านี้ ถ้าไม่ตระหนักถึง ไม่ให้คุณค่า ไม่มีวิธีปลดปล่อยออกมา ก็เหมือนไม่มี




        ในโลกนี้มีขุมทรัพย์ (Assets, Capital) ซ่อนอยู่ทั่วไป  ทั้งที่เป็นขุมทรัพย์เชิงรูปธรรมจับต้องได้  และที่เป็นขุมทรัพย์เชิงนามธรรม    ทั้งที่เป็นขุมทรัพย์มโหฬาร และขุมทรัพย์เล็กๆ     ขุมทรัพย์เหล่านี้ฝังแฝงอยู่ทั่วไป     รอให้ผู้คนรับรู้และให้คุณค่า    และนำมาสร้างคุณค่า (และมูลค่า) ในบริบทใหม่ๆ     ขุมทรัพย์เหล่านี้ มีอยู่ สั่งสม ยกระดับ สร้างเพิ่ม ได้หลากหลายรูปแบบ    ขุมทรัพย์เหล่านี้ “มีอยู่แบบไม่มี” และ “เหมือนไม่มี แต่มีอยู่”     องค์กรเคออร์ดิค เป็นองค์กรที่มีความสามารถนำเอาขุมทรัพย์ที่ซุกซ่อนอยู่ในรูปแบบดังกล่าว มาสร้างคุณค่าและมูลค่า เป็นวงจรไม่รู้จบ

Sunday, March 10, 2013

Server สสจ.นครราชสีมา Status Down

เช้าวันจันทร์ 11 มีนาคม 2556 8.00 น. เริ่มต้นการทำงาน Server http://www.korathealth.com/ สสจ.นครราชสีมา อยู่ในสถานะ Down
#keepper

ข้อมูลสถิติ อัตราป่วยด้วยไข้เลือดออก ปี 2556/Vinai Osaklang

จากข้อมูลสถิติการป่วยด้วยไข้เลือดออก อ.จักราชเราอยู่อันดับที่ 24 พื้นที่สีส้ม ซึ่งยังต้องช่วยกันเฝ้าระวังการระบาดของไข้เลือดออกในปีนี้ แว้วๆๆ ว่าปีนี้มาแน่นอนครับ ^^!

   จากนี้เป็นต้นไป  แม้จะไม่สามารถกำจัดยุงได้หมดไปได้หมดในคราวเดียว แต่เราสามารถที่จะลดจำนวน โดยการจำกัดแหล่งที่ยุงสามารถวางไข่ คือแหล่งน้ำขังตามบ้าน หาฝาปิด หรือหมั่นล้างทำความสะอาดทุก  7 วัน เท่านี้ก็จะช่วยให้บุตรหลานของท่านห่างไกลจากไข้เลือดออกครับ ^^

ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/Tombo2012

  ด้วยความห่วงใย
#keepper

Saturday, March 9, 2013

คมคิด /เดชา สายบุญตั้ง

เดชา สายบุญตั้ง8 มี.ค. 2013 - การสนทนา

 "ความรู้ที่เรามีอยู่ทั้งหมดจะมีประโยชน์อะไร ถ้าไม่สามารถแบ่งปันหรือถ่ายทอดให้คนอื่นได้.. "

"ความรู้ไม่ได้มีอำนาจอย่างที่เคยรับรู้กันมา แต่การถ่ายทอดความรู้นี่แหละ คือ อำนาจ..."

จากคำกล่าวข้างต้น  ยิ่งทำให้มองเห็นกับคำว่า  ยิ่งให้ ยิ่งได้รับ  เหมือนกับคำสอน การที่จะทำให้พวกเขามีปลากิน เราควรสอนวิธีตกปลาให้กับเขา ไม่ใช้การจับปลาให้พวกเขา

#keepper

Friday, March 8, 2013

Lab note /พี่วินัย


ระบบ BMS Customer Support /keepper

1. เข้าระบบ Login ที่ http://cloud1.hosxp.net/$  เข้าผ่าน Chrom จะลื่นกว่าครับ

2.  เลือกดาวโหลด Soft ware ตามต้องการ 
#keepper

Thursday, March 7, 2013

รหัสหัตถการทันตกรรม ICD10TM /หมอบี

2013-03-08  รายงานส่งออก 12 แฟ้มรายงานทันตกรรมที่ยังติด Error ICD10TM  ได้ตรวจสอบกับห้องฟัน และส่งออกรายการ 21 แฟ้ม เป็นที่น่าพึงพอใจ เหลือบันทึกความครอบคลุม และส่งออกอีกครั้งครับ

อัพ Version HOSxP  แล้วทดสอบการลงข้อมูล และส่งออกข้อมูล 21 แฟ้ม

หมอบีมีคำภี ทันตกรรม ยาวมากกกก....!  ^^!

ขอบคุณการเรียนรู้ที่ไม่มีคำว่าสิ้นสุด ครับ
#keepper

ร่วมประชุมงาน MCH ระดับอำเภอ

2013-03-07 ห้องประชุม DC ร.พ.จักราช  ประชุมงานอนามัยแม่และเด็ก เรื่องการดำเนินงานในรอบปีที่ผ่านมา การรับส่งข้อมูลระหว่างโรงพยาบาล และรพ.สต 


ขอบคุณอาหารเบรกอร่อยๆ น่าา ครับ
#keepper

ทดสอบส่งออกรายงาน 43 แฟ้ม HOSxP v.3.56.2.26


            เมื่อเช้าหลังรับแจ้งว่า เรา Activate โปรแกรม HOSxP โรงพยาบาล แล้วสำหรับหน้าตาโปรแกรมก็เปลี่ยนไปเยอะ และงามคัดกรองมะเร็งเต้านม ก็สามารถใช้งานได้แล้ว ต้องขอขอบคุณน้องเอ๋ ที่ช่วยประสานงานกับ บ. BMS
            สำหรับงานที่เพิ่มมาใหม่คือการส่งออกรายงาน 43 แฟ้ม และทะเบียนคลินิค COPD  Asthma
รอติดตามครับ
มีข้อมูลบางแฟ้มออก บางแฟ้มไม่ออก เดี๋ยวมานั่งดูอีกครัง

#keepper
               

Wednesday, March 6, 2013

จำนวนผู้สูงอายุที่มารับบริการผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก 2555 /น้องจะโอ

มีหนังสือจากสถาบันเวศศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณะสุข เกี่ยวกับการศึกษาความพร้อมและความต้องการการสนับสนุนในการจัดบริการสุขภาพผู้สูงอายุของโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณะสุข  

คำสั่ง SQL ที่ใช้นับผู้ป่วยใน มีดังนี้ 
SELECT COUNT(an) FROM an_stat
WHERE regdate BETWEEN "2012-01-01" and "2012-12-31" and age_y > "59"

ผู้ป่วยนอก 
SELECT COUNT(vn) from vn_stat
WHERE vstdate BETWEEN "2012-01-01" and "2012-12-31" and age_y > "59"





#keepper
 

Sample Text

111

Sample Text