เชื่อว่าหลายท่านคงทราบแล้วถึงเป้าหมายของไทยในการประกาศตัวเป็นศูนย์กลางบริการด้านสุขภาพนานาชาติ หรือเมดิคัล ฮับ แต่ยังกังวลว่าแพทย์ไทยของเราจะไหลออกไปทำงานนอกประเทศ ก่อนที่เราจะได้เป็นเมดิคัล ฮับ หรือเปล่า ขออธิบายว่า ในแผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเป็นเมดิคัล ฮับ 2 เรื่องคือการเคลื่อนย้ายบริการและการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรี การค้าบริการ โดยทั่วไปมี 4 รูปแบบ
รูปแบบแรก เรียกว่าCross-Border Supply เป็นการค้าบริการผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยที่ผู้ซื้อกับผู้ขายไม่ต้องพบกัน เช่น หากทราบว่ามีแพทย์เฉพาะทางเกี่ยวกับปอดอยู่ที่สิงคโปร์ เราสามารถไปเอกซเรย์ปอดจากในเมืองไทย แล้วนาผลส่งไปให้ทางสิงคโปร์ช่วยวินิจฉัย
รูปแบบที่สอง เรียกว่า Consumption Aboard คือ ผู้ซื้อบริการเดินทางมารับบริการในประเทศของผู้ขายโดยตรง เช่น คนต่างชาติเดินทางเข้ามาประเทศไทยเพื่อมารับบริการศัลยกรรม
รูปแบบที่สาม เรียกว่าCommercial Presence คือ การค้าที่ผู้ให้บริการเข้าไปลงทุนตั้งสาขาย่อยในประเทศผู้รับบริการเอง เช่น เมื่อแพทย์ไทยพบว่ามีคนชาติใดเข้ามาทาศัลยกรรมจำนวนมาก ก็อาจไปตั้งสาขาที่ประเทศนั้นเลย
รูปแบบสุดท้าย เรียกว่า Movement of Natural Persons ก็คือผู้ประกอบวิชาชีพบริการเป็นผู้เดินทางไปให้บริการในประเทศผู้รับบริการเองแพทย์ พยาบาล และทันตแพทย์ สามารถเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรี
จากกรอบความตกลงการค้าบริการของอาเซียน ระบุว่า ตั้งแต่ปี 2558 นักลงทุนอาเซียนสามารถถือหุ้นในธุรกิจบริการสาขาต่างๆ ได้ถึง 70% ดูเผินๆ อาจทำให้คิดว่าเพิ่มขึ้นมากจากกรอบเดิมที่ไทยกำหนดให้ต่างชาติถือหุ้นได้ไม่เกิน 49% แต่ไม่ค่ะ เพราะความจริงยังมีข้อกีดกันอยู่มาก ในด้านสาธารณสุขนั้น สาขาที่เปิดให้ต่างชาติถือสัดส่วนได้เพิ่มขึ้นเป็น 70% มีเพียงบางด้าน เช่น บริการการแพทย์เฉพาะทาง “ในโรงพยาบาลเอกชน”และบริการ “ให้คาปรึกษา”ด้านกุมารเวช จิตวิทยา การผ่าตัด ข้ามมาดูเรื่องการเคลื่อนย้ายแพทย์ค่ะวิชาชีพแพทย์ถือเป็นวิชาชีพที่มีการเคลื่อนย้ายเสรีแต่ก็ต้องอยู่ภายใต้ข้อตกลงยอมรับร่วมคุณสมบัตินักวิชาชีพ (MRA) แล้ว MRA ก็กำหนดคุณสมบัติร่วมเอาไว้ทั้งด้านการศึกษาด้านประสบการณ์ แถมแต่ละประเทศยังมีข้อกำหนดเพิ่มเติมกันเอง เช่นต้องสอบใบประกอบโรคศิลปะเป็นภาษาของประเทศนั้นๆ
สรุปก็คือ การเปิดเสรีด้านสาธารณสุขในขณะนี้ ยังไม่ได้เปิดเต็มรูปแบบอย่างแท้จริง แต่เราควรร่วมกันทาทั้งอาเซียนให้กลายเป็นเมดิคัล ฮับเพราะเราต้องยอมรับว่าแต่ละประเทศก็มีจุดเด่นและจุดด้อยแตกต่างกันเบื้องต้นเราอาจจับมือกับสิงคโปร์ ซึ่งมีความพร้อมด้านการแพทย์ระดับเดียวกับเรา รวมถึงร่วมมือกับชาติอาเซียนอื่นส่งต่อคนไข้ อย่าให้อาเซียนกลายเป็นอุปสรรคในการก้าว แต่ให้เป็นความร่วมมือของคนทั้งอาเซียน และกลายเป็น Stepping Stone พาเราก้าวไปสู่เวทีสากล
ที่มา : อภิรดี ตันตราภรณ์ ประธานบริหารสถาบันนานาชาติเพื่อเอเชียแปซิฟิกศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพ
อ่านต่อ: http://www.thai-aec.com/731#ixzz2NU3psKgQ
0 ความคิดเห็น:
Post a Comment