Wednesday, March 13, 2013

รู้ก่อน เตรียมตัวก่อน จ่ายค่าตอบแทนตามผลปฏิบัติงาน P4P

การจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน(Pay for Performance) ได้รับการยอมรับโดยทั่วไปว่าเป็นระบบที่สามารถเพิ่มผลิตภาพการทำงานของกำลังคน และสามารถสร้างแรงจูงใจในการทำงานเพื่อเป้าหมายขององค์กร ซึ่งการนำมาใช้ในภาคบริการสุขภาพที่เป็น Skill Labour Intensive ซึ่งจำเป็นต้องมีการออกแบบระบบอย่างรอบคอบ คำนึงถึงปัจจัยแวดล้อม และผลกระทบ ที่จะเกิดขึ้นทั้งทางบวกและทางลบอย่างรอบด้าน ทั้งด้านผลลัพธ์ต่อผู้ป่วย ผู้ใช้บริการความสามารถในการจ่ายและความมั่นคงขององค์กร ความพึงพอใจและประสิทธิภาพของกำลังคน รวมทั้งการแข่งขันในตลาดบริการสุขภาพที่เติบโตขึ้นอย่างมากและรวดเร็ว ทั้ง ๔ ปัจจัยดังกล่าว มีความสัมพันธ์กันอย่างเป็นระบบ ดังแผนภาพ


การจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน (Pay for Performance) เป็นการจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงานแก่บุคลากรด้านสุขภาพ ทั้งนี้ ผลการปฏิบัติงานประกอบไปด้วย ปริมาณภาระงานและ คุณภาพงาน โดยมีหลักการพื้นฐานดังนี้

๑.   ค่าตอบแทนนี้ เป็นค่าตอบแทนเพื่อการจูงใจ (Incentives) ซึ่งเป็นค่าตอบแทนที่ให้เพิ่มขึ้นนอกเหนือจากค่าตอบแทนพื้นฐาน ขนาดของค่าตอบแทนเพื่อการจูงใจที่จะจ่ายนี้ เป็นค่าตอบแทนที่ผันแปรตามผลงาน ซึ่งเป็นไปตามข้อตกลงในแต่ละโรงพยาบาล โดยจะมีการจ่ายค่าตอบแทนนี้ภายหลังจากมีการประเมินผลงานแล้ว  
ภาพที่ ๒ กรอบแนวคิดการจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน


๒.   การจ่ายค่าตอบแทน โดยยึดหลักพื้นฐานของความเป็นธรรมภายใน หมายถึง การจ่ายให้บุคลากรที่ทำงานมีผลงานเท่ากัน ได้รับค่าตอบแทนเท่ากัน และจ่ายค่าตอบแทนสูงกว่าสำหรับบุคลากรที่ทำผลงานได้มากกว่า หรือดีกว่า หรือที่มีความยากมากกว่า ดังนั้น จึงต้องมีการวิเคราะห์งาน และการประเมินค่างานอย่างโปร่งใส ด้วยหลักเกณฑ์เชิงประจักษ์ ที่จะสามารถเปรียบเทียบกันได้ระหว่าง งานทุกงาน และทักษะของบุคลากรทุกคนและทุกสาขา



ตัวอย่าง การคิดคะแนน


จ่ายตามความยากง่ายของงาน




แบบความซับซ้อน 
อ่านต่อ


๓.   ยอมรับในหลักการที่ว่าแต่ละงานแต่ละกิจกรรมของบุคลากรสาขาต่าง ๆ มีความสำคัญหรือแตกต่างกันได้จากปัจจัยกำหนดหลายประการ  เช่น ความยากง่ายของงาน  ความเสี่ยงในการทำงาน  ความจำเป็นเร่งด่วน หรือปัจจัยอื่น ๆ ที่กระทรวงฯหรือหน่วยงานถือเป็นนโยบายสำคัญ เป็นต้น  ซึ่งจะเป็นการเพิ่มค่าของงานหรือกิจกรรมของสาขาวิชาชีพต่าง ๆ ดังกล่าว 

๔.   ค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน นี้สามารถกำหนดให้ใช้ได้กับทั้งผู้ทำงานรายบุคคล กับกลุ่มทีมงาน หรือกับหน่วยงาน  ครอบคลุมทั้งงานบริหาร งานบริการ และงานวิชาการ รวมทั้งครอบคลุมทั้งงานที่ให้บริการผู้ป่วยโดยตรง และงานสนับสนุนอื่นๆ

๕.   ระบบค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน ที่กำหนดจะต้องเป็นที่ยอมรับของทั้งฝ่ายผู้บริหาร ซึ่งกำหนดนโยบาย และบุคลากรในหน่วยงาน โดยอยู่บนพื้นฐานของการมีส่วนร่วม ความสามารถในการจ่ายและเป้าหมายขององค์กร

อย่างไรก็ตามเมื่อมีการเบิกจ่ายอย่างกว้างขวางในโรงพยาบาลแต่ละแห่ง จะต้องมีการพิจารณาถึงหลักพื้นฐานความเป็นธรรมระหว่างองค์กรด้วย 

ที่มา http://www.thaihospital.org/board/index.php?topic=2042.0


ดาวโหลดเอกสารฉบับเต็ม
http://www.socialmedkkh.com/index.php?option=com_docman&task=doc_download&gid=31&Itemid=100

0 ความคิดเห็น:

Post a Comment

 

Sample Text

111

Sample Text